analyticstracking
หัวข้อ   “ เซ่นไหว้ แบบไหน ในตรุษจีนปีฉลู
                 ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 58.2 ระบุว่าในวันไหว้ตรุษจีนปีนี้จะใช้วิธีแยกกันไหว้ไม่รวมญาติ
     เหมือนทุกปี เพื่อปรับให้เหมาะกับสถานการณ์ ส่วนในวันเที่ยวส่วนใหญ่ร้อยละ 86.0 ระบุว่าในปีนี้งดเที่ยว
     งดสังสรรค์ โดยร้อยละ 41.6 ระบุว่าปีนี้จะงดแจกอั่งเปา
                 ทั้งนี้กลุ่มประชาชนทั่วไปร้อยละ 95.3 ระบุว่าในวันหยุดยาวช่วงตรุษจีนไม่มีแผนจะไปเที่ยว
     เนื่องจากติดสถานการณ์ COVID-19 และต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนผู้ที่มีแผนจะไปเที่ยวนั้น
     ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.8 ระบุว่า จะเที่ยวภายในจังหวัดตัวเอง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องด้วยวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นี้เป็นวันตรุษจีนและเป็นวันที่รัฐบาลประกาศ
ให้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษในปี 2564 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย
กรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “เซ่นไหว้ แบบไหน ในตรุษจีนปีฉลู”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,212 คน พบว่า
 
                 เมื่อถามผู้ที่ไหว้เทพเจ้า ไหว้บรพบุรุษ และทำกิจกรรมต่างๆ ตามประเพณีจีน
พบว่าได้มีการปรับรูปแบบการทำกิจกรรมต่างๆ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ให้เหมาะสมกับ
สถานการณ์ดังนี้
 
                 - ในวันจ่ายส่วนใหญ่ร้อยละ 63.5 ยังคงซื้อของไหว้ในวันจ่าย
ตามประเพณีเหมือนทุกปี
รองลงมาร้อยละ 29.6 ระบุว่าปรับเป็นซื้อของไหว้เตรียมไว้
ล่วงหน้าเพื่อลดความแออัดในวันจ่าย และร้อยละ 5.1 ระบุว่าสั่งซื้อของไหว้ออนไลน์
 
                 - ในวันไหว้ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.2 ระบุว่าแยกกันไหว้ ไม่รวมญาติ
เหมือนทุกปี
รองลงมาร้อยละ 28.5 ระบุว่ายังไหว้แบบรวมญาติและทานอาหารร่วมกัน
เหมือนทุกปี และร้อยละ 11.7 ระบุว่าไหว้แบบรวมญาติเหมือนเดิม แต่งดทานอาหารร่วมกัน
 
                 - ในวันเที่ยวส่วนใหญ่ร้อยละ 86.0 ระบุว่าปีนี้งดเที่ยว งดสังสรรค์ รองลงมาร้อยละ 9.0 ระบุว่า แยกกันไป
ไม่รวมญาติท่องเที่ยวเหมือนทุกปี และร้อยละ 5.0 ระบุว่า ยังรวมญาติท่องเที่ยวสังสรรค์เหมือนทุกปี
 
                 - ในการแจกอั่งเปา พบว่าร้อยละ 49.4 แจกอั่งเป่าด้วยเงินสดใส่ซองเหมือนทุกปี ขณะที่ร้อยละ 41.6
ระบุว่าปีนี้งดแจกอั่งเปา
 
                 เมื่อถามประชาชนทั่วไปว่าการกำหนดให้ "วันตรุษจีน" ในปีนี้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษทำให้มีการหยุด
ติดกัน 3 วัน มีแผนจะไปท่องเที่ยวหรือไม่อย่างไร พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 95.3 ระบุว่า ไม่มีแผนจะไปท่องเที่ยวโดย
ให้เหตุผลว่า ติดช่วง COVID-19 จึงไม่อยากเดินทาง ร้อยละ 40.7 รองลงมาคือ ช่วงนี้ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายร้อยละ
21.3 และ ที่ทำงานไม่ได้หยุด ร้อยละ 19.2
 
                 สำหรับการให้"วันตรุษจีน" เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษในปีนี้ ประชาชนร้อยละ 46.0 เห็นว่า
จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้ปานกลาง
รองลงมาร้อยละ 42.0 เห็นว่าช่วยได้
น้อยถึงน้อยที่สุด และร้อยละ 12.0 ระบุว่า ช่วยได้มากถึงมากที่สุด
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ท่านได้ปรับรูปแบบการทำกิจกรรมต่างๆ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างไร
               (ถามเฉพาะที่ ไหว้และทำกิจกรรมต่างๆ ตามประเพณีจีน)


                    - วันจ่าย
 
ร้อยละ
ซื้อของไหว้ในวันจ่ายตามประเพณีเหมือนทุกปี
63.5
ซื้อของไหว้เตรียมไว้ล่วงหน้าเพื่อลดความแออัด
29.6
สั่งซื้อของไหว้ออนไลน์
5.1
งดจ่าย/งดไหว้
1.8

                    - วันไหว้
 
ร้อยละ
แยกกันไหว้ ไม่รวมญาติเหมือนทุกปี
58.2
รวมญาติไหว้และทานอาหารร่วมกันเหมือนทุกปี
28.5
รวมญาติไหว้เหมือนเดิม แต่งดทานอาหารร่วมกัน
11.7
งดไหว้/ไม่ไหว้
1.6

                    - วันเที่ยว
 
ร้อยละ
งดเที่ยว/งดสังสรรค์
86.0
แยกกันไปไม่รวมญาติท่องเที่ยว เหมือนทุกปี
9.0
รวมญาติ ท่องเที่ยว สังสรรค์เหมือนทุกปี
5.0

                    - การแจกอั่งเปา
 
ร้อยละ
แจกอั่งเป่าด้วยเงินสดใส่ซองเหมือนทุกปี
49.4
งดแจกอั่งเปา
41.6
แจกอั่งเป่า ด้วยการโอนเงินแทนการรับซอง
9.0
 
 
             2. การกำหนดให้"วันตรุษจีน" เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษในปีนี้ทำให้มีการหยุดติดกัน 3 วัน
                  มีแผนจะไปท่องเที่ยวหรือไม่อย่างไร
(ประชาชนทั่วไป)

 
ร้อยละ
ไม่มีแผนจะไปเที่ยว
โดยให้เหตุผลว่า.....    
-ติดช่วง COVID-19 ไม่อยากเดินทาง ร้อยละ 40.7
-ช่วงนี้ต้องประหยัดค่าใช้จ่าย ร้อยละ 21.3
-ที่ทำงานไม่ได้หยุด ร้อยละ 19.2
-ไม่ชอบเที่ยวช่วงเทศกาล ร้อยละ 18.4
-อื่นๆ อายุมากแล้ว มีโรคประจำตัว ฯลฯ ร้อยละ 0.4
95.3
มีแผนจะไปเที่ยว
โดยระบุว่า.....    
-เที่ยวภายในจังหวัดตัวเอง ร้อยละ 64.8
-เที่ยวข้ามจังหวัด/ไปต่างจังหวัด ร้อยละ 35.2
4.7
 
 
             3. การให้"วันตรุษจีน" เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษในปีนี้ จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและ
                  กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ได้เพียงใด(ประชาชนทั่วไป)


 
ร้อยละ
มากถึงมากที่สุด
12.0
ปานกลาง
46.0
น้อยถึงน้อยที่สุด
42.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำกิจกรรมในช่วงตรุษจีน
ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ตลอดจนแผนการท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาว 3 วัน ในช่วงตรุษจีน เพื่อสะท้อนมุมมอง
ความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 3-5 กุมภาพันธ์ 2564
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 10 กุมภาพันธ์ 2564
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
589
48.6
             หญิง
623
51.4
รวม
1,212
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
79
6.5
             31 – 40 ปี
185
15.3
             41 – 50 ปี
319
26.3
             51 – 60 ปี
338
27.9
             61 ปีขึ้นไป
291
24.0
รวม
1,212
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
724
59.7
             ปริญญาตรี
373
30.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
115
9.5
รวม
1,212
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
147
12.1
             ลูกจ้างเอกชน
220
18.2
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
470
38.8
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
78
6.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอาย
240
19.8
             นักเรียน/ นักศึกษา
16
1.3
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
41
3.4
รวม
1,212
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898